วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ไคโตซานสำหรับพืช

ไคโตซานสำหรับพืช

1ลิตร ราคา (150+50)    200บาท รวมส่ง 

10 ลิตร 1000 บาท รวมส่ง

20ลิตร 1800 บาท  รวมส่ง

 


 ไคโตซาน กับการเกษตรด้านการควบคุมศัตรูพืช

1. ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดย ไคโตซาน จะซึมผ่านเข้าทางผิว
ใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว (รักษาโรคพืช) และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดย ไคโตซาน มี คุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิดพืชจึงลดโอกาสที่จะ ถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้

2. ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช
ไค โตซาน จะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด – ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับ ไคโตซาน จะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ

3. ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโตซาน สามารถ ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อ Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ ( Furarium ) Phythophthora spp. ฯลฯ

รายชื่อศัตรูพืชที่มีการทดสอบแล้วว่าไคโตซานมีศักยภาพในการควบคุม

1. การกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานแมลง
ศัตรูพืช คือ หนอนใยผัก หนอนคืบและอื่น ๆ
การใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นกับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่)
อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

2. การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืช
- ไวรัสโรคพืช
- แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer
- แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว รากเน่า – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย

*********************************



ประโยชน์ของไคโตซาน

    ด้านการเกษตรกรรมและอาหาร

ไคโตซานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรได้ เนื่องจาก เป็นพอลิเมอร์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเสื่อมทางชีวภาพ ได้ จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ มีการนำไคโตซานไปใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ เพื่อป้องกันแบคทีเรีย ช่วยยืดอายุการเก็บ ของผลไม้ให้ได้นานขึ้น ทำให้ผลไม้ยังสดใหม่อยู่ ไคโตซานใช้ลดปริมาณคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด โดยการผสมไคโตซานในอาหาร ซึ่งมีการใช้เป็นส่วนผสมขายในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ คุกกี้ ก๋วยเตี๋ยว และน้ำส้ม

    ด้านการบำบัดน้ำทิ้ง

เนื่องจากไคโตซานมีหมู่เอมีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน จึงสามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีน สีย้อมผ้า และไอออน ของโลหะได้ มีการนำไคโตซานไปใช้ดูดซับสีย้อมผ้าในน้ำทิ้ง และใช้ในการดูดซับไอออนของโลหะในการบำบัดน้ำทิ้ง ได้แก่ ตะกั่ว ทองแดง ปรอท โครเมียม และยูเรเนียม

    ทางด้านเภสัชกรรมและการแพทย์

ไคโตซานถูกนำมาใช้ทางเภสัชกรรม โดยการใช้เป็นตัวขนส่งยา (drug delivery) เพื่อเพิ่มการดูดซึมและปลดปล่อยยา ในทางการแพทย์มีการนำไคโตซานไปใช้เป็นวัสดุปิดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นหรือทำให้เลือดจับเป็นก้อน นอกจากนี้ ยังมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ไคโตซานในการลดปริมาณคลอเรสเตอรอลและไขมันในสัตว์ ซึ่งพบว่าสัตว์ที่ เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดไคโตซานมีปริมาณคลอเรสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบกลไกการลดปริมาณ คลอเรสเตอรอลที่ชัดเจนก็ตาม

    ทางด้านสุขภาพและเครื่องสำอาง

มีการใช้ไคโตซานในผลิตภัณฑ์ดูแลผม ได้แก่ แชมพู และครีมนวด ซึ่งมีวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และยุโรป และยังมี การใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนัง ได้แก่ ครีมอาบน้ำ และโลชัน

    ทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์

มีการนำไคโตซานไปใช้เป็นสารดูดซับยูเรเนียม เพื่อทำให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณ ยูเรเนียมระดับน้อย ๆ ในน้ำประปาและน้ำทะเล

จากประโยชน์ของไคโตซานที่มีมากมาย แต่เนื่องจากไคโตซานมีน้ำหนักโมเลกุลสูงและความสามารถในการละลายได้ ในตัวทำละลายต่าง ๆ ได้น้อย ทำให้เป็นข้อจำกัดของการนำไปใช้ประโยชน์ จึงมีการปรับปรุงสมบัติของไคโตซานให้ เหมาะสมกับการนำไปใช้ให้ได้มากขึ้น โดยการเพิ่มความสามารถในการละลายได้ของไคโตซาน ซึ่งสามารถทำได้โดย การลดน้ำหนักโมเลกุลลงด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้วิธีทางเคมี วิธีทางรังสี และวิธีการใช้เอนไซม์

วิธีทางรังสีเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยมีการใช้รังสีแกมมา และลำอิเล็กตรอนในการทำให้แตกสลาย (degradation) ไคโตซาน ทำให้น้ำหนักโมเลกุลลดลง และมีการใช้รังสีแกมมาในการต่อกิ่งไคโตซาน (chitosan grafting) เพื่อทำให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้มากขึ้น

 http://www0.tint.or.th/nkc/nkc53/content/nstkc53-062.html


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น